ยินดีตอนรับ

ขอต้อนรับเข้าสู่ weblog ของครูเพ็ญพรรณ จงจุดเทียน ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ


วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ยาลดกรด


ถ้าเอ่ยถึงโรคกระเพาะทุกคนก็คงรู้จักเป็นอย่างดี ถ้าพูดถึงปวดท้องส่วนใหญ่คนมักจะว่าเป็นโรคกระเพาะ โรคนี้เกิดจากการที่มีกรดเกลือหลั่งลงไปในกระเพาะอาหารมากเกินไป อาจสืบเนื่องมาจาก ความเครียดของจิตใจหรือการกินอาหารที่ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารเข้าไป ทำให้เยื่อบุกระเพาะอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ อาการที่ปรากฏคือ ปวดเสียดท้องบริเวณเหนือสะดือ ซึ่งจะหายเมื่อกินอาหารเข้าไป และอาการปวดจะกลับเป็นขึ้นมาใหม่ภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจะทำให้อาเจียน บางครั้งมีเลือดปนออกมาและอุจจาระมีสีดำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ กาแฟ น้ำอัดลม อาหารรสเผ็ด เครื่องเทศ ตลอดจนบุหรี่

การรักษาโรคกระเพาะในระยะเริ่มแรกนี้สำคัญมาก มิฉะนั้นอาจจะทำให้มีอาการเลือดออกในกระเพาะหรือเป็นแผลในกระเพาะ แผลในกระเพาะจะดีขึ้นถ้าระมัดระวังในเรื่องการกินอาหารและเครื่องดื่ม ในทำนองเดียวกันความโกรธ ความเครียด หรือมีอาการทางประสาทจะทำให้แผลหายช้า ดังนั้นการพักผ่อนให้เพียงพอจึงจำเป็นสำหรับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
ยาที่ใช้ในการรักษาจะต้องเป็นยาที่ไปลดความเข้มข้นของกรดเกลือในกระเพาะอาหาร โดยระงับการหลั่งของกรดเกลือ หรืออาจจะไประงับการสร้างกรดเกลือก็ได้ ยาต่างๆ เหล่านี้ได้แก่ยาที่มีส่วนผสมของสารพวกอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมไบคาร์บอเนต สารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นด่างจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกรดเกลือ เป็นการลดปริมาณของกรดเกลือในกระเพาะอาหารได้ ส่วนยาไซเมติดีน (cimetidine) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยไประงับการสร้างกรดเกลือ

มีผู้เข้าใจกันว่า ยาลดกรดเป็นยาไม่มีอันตราย แต่ความจริงแล้วการใช้ยาลดกรดเป็นประจำอาจจะมี
อาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย และมีความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกายทำให้
อวัยวะบางระบบทำงานผิดปกติไป ปฏิกิริยาต่อกันของยาลดกรดกับยาในกลุ่มอื่นเมื่อใช้ร่วมกัน ซึ่ง
จะทำให้ผลในการรักษาลดลง และการทำให้กระเพาะมีสภาวะเป็นด่างมากเกินไป ไม่เป็นผลนักเนื่องจากเอ็นไซม์ที่ช่วยในการย่อยโปรตีนจะถูกทำลาย และอาจมีกรดเกลือหลั่งมากในกระเพาะอาหารได้ภายหลัง


ยาลดกรดโดยทั่วไปมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1.สามารถทำให้สภาวะความเป็นด่างของกระเพาะอาหารมากขึ้น
2.ออกฤทธิ์ได้เร็ว และระยะเวลาของการออกฤทธิ์มากกว่าครึ่งชั่วโมง
3.ไม่ทำให้เกิดการหลั่งของกรดภายหลัง
4.ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อภาวะสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
5.ไม่ค่อยดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
6.มีผลกระทบต่อการย่อยและการดูดซึมอาหารน้อยมาก
7.สามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้
8.ทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น
9.มีอาการข้างเคียงน้อย เมื่อใช้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
10.ราคาถูก และสะดวกต่อการใช้

5 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ดีจัง อ่านแล้วรู้สึกดี ทบทวนไปในตัว

    อิอิ ไม่เห็นมีรูปคนทำเลย..

    ตอบลบ
  3. บล็อกนี้มีแต่ความรู้จริงๆ ทีประวัติคนทำยังไม่บอกเลย
    มีรูปสักรูปก้อยังดี จะได้หายคิดถึงหน่อย

    ตอบลบ
  4. กว่าจะทำเสร็จซะดึกเลย

    ตอบลบ
  5. มีรูปแล้ว ตั้งหนึ่งรูป

    555+

    ตอบลบ

WELCOME

ยินดีต้อนรับผู้เยียมชม เว็บบล็อก

Chruchemna